Last updated: 13 มี.ค. 2565 | 1387 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
แนะนำเทคนิคดูแลปัญหาผิวหนัง Ep.8: สิวจากการใส่หน้ากาก หรือ Maskne วินิจฉัยได้อย่างไร ดูแลรักษาได้อย่างไร?
>> Maskne คืออะไร
Maskne คือ ภาวะปัญหาของผิวหนังที่เกิดจากการสวมใส่แมสก์ที่เล็กจนเกินไปหรือใส่เป็นเวลานาน ทำให้เกิดสิวที่เรียกว่า Acne mechanica
•นั่นคือสิวที่เกิดจากการเสียดสีระหว่างผิวหนังกับแมสก์ทำให้เกิดการระคายเคืองและอุดตันรูขุมขนจนทำให้เกิดเป็นสิวขึ้นมา
>> เกณฑ์การวินิจฉัยภาวะสิวจากการใส่หน้ากาก Maskne***
1.เป็นสิวหรือสิวเห่อขึ้นภายใน 6 สัปดาห์หลังจากการใส่หน้ากาก
•Onset of acne within 6 weeks of start of regular face mask wear or exacerbation of acne
2. สิวเป็นบริเวณที่ใส่หน้ากาก O-zone รอบปากรอบจมูก
•Over masked area (*O-zone")
3.ต้องวินิจฉัยแยกโรคอื่นๆที่มีลักษณะคล้ายสิวเช่น perioral dermatitis, รูขุมขนอักเสบเป็นต้น
•Exclusion of other diagnoses (e.g. perioral dermatitis, seborrheic dermatitis, pityrosporum folliculitis, and rosace)
•อีกทั้งความชื้นและเหงื่อเกิดขึ้นภายใต้หน้ากากที่สวมใส่เป็นเวลานานก็จะยิ่งส่งเสริมให้เกิดสิวได้เช่นกัน ดังนั้นMaskneจึงเป็นอาการของสิวที่ผุดขึ้นมาบริเวณที่ถูกแมสก์ปิดไว้นั่นเอง Acne tropicalis
•ส่วนใหญ่จะเกิดที่คาง แนวกราม แก้ม จมูก และรอบปาก O-Zone***
•นอกจากนี้พบว่าแมสก์ยังทำให้เกิดสภาวะโรคผิวหนังอักเสบ (Rosacea) หรือ ผื่นผิวหนังอักเสบรอบปาก (Perioral dermatitis) ที่เป็นโรคผิวหนังเรื้อรังได้อีกด้วย
>> สาเหตุอื่นๆที่ก่อให้เกิดMaskne
* การแต่งหน้า Makeup การแต่งหน้าในสภาวะที่ต้องสวมหน้ากากด้วยจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการอุดตันรูขุมขนและเกิดสิวตามมา
* ความชื้น Humidity ความร้อนและความชื้นจากลมหายใจที่หมุนเวียนภายในแมสก์ร่วมกับสภาวะที่อากาศหมุนเวียนภายในแมสก์ที่น้อย จะทำให้จุลินทรีย์บนในหน้าเสียความสมดุล (microbiome dysbiosis) เป็นสาเหตุให้เกิดสิวหรือผิวอักเสบรวมถึงโรคผิวหนังอื่นๆ ตามมา
* อากาศเย็นและแห้ง Cold, Dry weather –ถึงแม้อุณหภูมิที่ลดลงอาจฟังแล้วดูจะช่วยเรื่องสิวได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นอากาศที่แห้งจะทำให้รูขุมขนอักเสบและติดเชื้อได้ง่ายในบริเวณที่ผิวแห้งพิเศษ
* ความเครียด Stress ความเครียดทำให้ผลิตฮอร์โมนคอร์ติซอลซึ่งรบกวนระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายรวมถึงทำให้ผิวหนังอ่อนแอลงด้วย
Teo WL. Diagnostic and management considerations for "maskne" in the era of COVID-19. J Am Acad Dermatol. 2021 Feb;84(2):520-521. https://bit.ly/3sYjiKN
>> วิธีการป้องกันการเกิดสิวจากการใส่หน้ากาก
* การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ควรเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่อ่อนโยนต่อผิว ไม่มีน้ำหอมหรือส่วนประกอบของสารเคมีมากเกินไป
* ควรเลือกสบู่ล้างหน้าสูตรอ่อน ที่ไม่ก่อให้เกิดความแห้งตึงของผิว
* ในระหว่างวันที่ต้องใส่หน้ากากอนามัย ควรเลือกครีมมอยเจอร์ไรเซอร์เนื้อเบาที่ไม่ก่อให้เกิดการอุดตันของรูขุมขน (Non-comedogenic) ส่วนตอนกลางคืนสามารถใช้ครีมมอยเจอร์ไรเซอร์ซึ่งมีเนื้อหนักขึ้นได้ โดยอาจมีส่วนประกอบของสารที่ช่วยลดการระคายเคืองหรือการอักเสบของผิวที่ไม่ใช่สเตียรอยด์
* ครีมกันแดด ควรเลือกแบบ Physical sunscreen (zinc oxide, titanium dioxide) มากกว่า Chemical sunscreen ซึ่งอาจระคายเคืองผิวได้มากกว่า
* หลีกเลี่ยงครีมหรือผลิตภัณฑ์ที่อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว เช่น ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของกรดผลไม้ (AHA, BHA)
* การแต่งหน้า ควรหลีกเลี่ยงการแต่งหน้าบริเวณที่อยู่ใต้หน้ากากอนามัย โดยเฉพาะครีมรองพื้นและคอนซีลเลอร์ เนื่องจากทำให้เกิดการอุดตันของรูขุมขนได้ง่าย
* หลีกเลี่ยงการเปลี่ยนใช้เครื่องสำอางชนิดใหม่ใหม่
* และควรถอดหน้ากากอนามัยและล้างหน้าทันทีที่กลับถึงบ้าน
* กรณีบุคลากรทางการแพทย์ควรมีช่วงว่างถอดหน้ากากอนามัย 15 นาทีทุก 4 ชั่วโมง หรือโดยทั่วไปถ้าอยู่ในที่ที่ไม่มีบุคคลอื่น เช่นอยู่ที่บ้าน, อยู่ที่ในรถของเราเองสามารถถอดหน้ากากอนามัยได้โดยต้องล้างมือก่อนถอดนะครับ**
* ***การเลือกใช้หน้ากากอนามัย ในคนทั่วไปที่ไม่ใช่บุคลากรทางการแพทย์ สามารถเลือกใช้หน้ากากอนามัยชนิดผ้า ฝ้ายมัสลิน (Cotton 100%) ควรใช้เป็นผ้า 2 ชั้น และเลือกขนาดให้พอดีกับหน้า สามารถทดสอบโดยเวลาพูดหรืออ้าปาก หน้ากากอนามัยไม่เสียดสีกับบริเวณคาง
* ควรซักหน้ากากผ้าทุกวัน และเปลี่ยนหน้ากากเมื่อผ้าเริ่มชื้น
การรักษาสิวที่เกิดจากหน้ากากอนามัย
กรณีเป็นสิวอักเสบจำนวนไม่มาก ฝากทายาปฏิชีวนะเฉพาะที่หรือทายา Benzoyl peroxide BPO บริเวณสิวที่อักเสบ
*กรณีที่มีปัญหาสิวหรือโรคผิวหนังอยู่เดิมควรดูแลรักษาต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์แต่ต้องระวังการระคายเคืองที่เกิดจากหน้ากากด้วยนะครับ
* ควรระวังการใช้ยาทาสิวที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองผิว ได้แก่ Benzoyl peroxide, retinoic acid โดยอาจมีการปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ เช่น ลดเวลาการทาลง หรือลดความถี่ในการทายา เพื่อลดโอกาสเกิดการระคายเคืองต่อผิว
* งดแกะสิว ซึ่งจะทำให้สิวอักเสบ และเป็นรอยแผลเป็น
* หากสิวยังไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์เพื่อวางแผนการรักษา เช่นการ กดสิว ฉีดสิว การทานยา การใช้เลเซอร์หรือแสงเลเซอร์ความเข้มข้นต่ำ low level laser therapy LLLT
*
https://www.aad.org/.../face/prevent-face-mask-skin-problems
https://health.clevelandclinic.org/the-struggle-with.../
..
Cr: หมอรุจชวนคุย
https://bit.ly/3sX8Bbo
https://bit.ly/3w0ksYp
https://bit.ly/3yXs8bx
https://youtu.be/WcgWB6naptc
https://youtu.be/WOXxyxNW_vk
https://youtu.be/_qafOWjFlDw
https://youtu.be/s9ocFrPjMAE
https://youtu.be/R9UiMTQt42s
https://bit.ly/3CuFMpW
https://bit.ly/3yXs8bx
..
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj
www.facebook.com/drsuparuj
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
https://mobile.twitter.com/drruj1
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com
.