ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?

Last updated: 6 ก.พ. 2565  |  1407 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล


ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?

>> ผิวแพ้ง่าย (Sensitive skin) เป็นภาวะที่ผิวมีความไวต่อปัจจัยกระตุ้นจากสิ่งแวดล้อมต่างๆ ได้ง่าย เช่น เครื่องสำอาง ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด สารกันแดด เนื้อผ้าที่สวมใส่บางชนิด น้ำ หรือแม้กระทั่งสภาพอากาศที่แห้งและเย็น นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่าอาการระคายเคืองที่เกิดขึ้นในผิวแพ้ง่ายยังสัมพันธ์กับรอบประจำเดือนของสุภาพสตรีอีกด้วย อาการที่มักแสดงถึงการระคายเคืองในผู้ที่มีผิวแพ้ง่าย ได้แก่ การเกิดผดผื่นคัน ตึงผิว แสบร้อน และผิวไหม้ ซึ่งลักษณะของผื่นที่พบอาจมีลักษณะเป็นรอยแดง แห้งลอก หรือเกิดเป็นผื่นนูนขึ้นมาได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาที่พบได้ในทุกวัยทั้งเพศชายและหญิง

ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?

ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?


>> ผื่นแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) เป็นโรคที่เกิดจากผิวหนังมีการอักเสบเรื้อรัง จากปฏิกริยาทางภูมิแพ้ ซึ่งอาการที่เกิดขึ้นไม่ใช่โรคติดต่อหรือเกิดจากความสกปรก แต่เกิดมาจากร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิที่ไวต่อการตอบสนองต่อปัจจัยกระตุ้นต่างๆ มากเกินไป โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีอาการภูมิแพ้ผิวหนัง อาจจะมีอาการภูมิแพ้อื่นๆร่วมด้วย เช่น แพ้อากาศ เยื่อบุจมูกและเยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ และหอบหืด เป็นต้น ซึ่งภาวะการดำเนินของโรคที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะเป็นๆ หายๆ คือ มีช่วงที่ภาวะโรคกำเริบ คือเกิดผื่นผิวหนังเห่อแดงและมีอาการคัน สลับกับช่วงที่มีภาวะโรคสงบ สาเหตุของการเกิดโรคผื่นแพ้ผิวหนังยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัด แต่เชื่อว่าเกิดมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน โดยสาเหตุหลักสาเหตุหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรมของตัวผู้ป่วยเองหรือจากบุคคลในครอบครัวที่มีประวัติภูมิแพ้ซึ่งมีภูมิที่ไวต่อสิ่งกระตุ้น ร่วมกับปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นที่เห่อมากขึ้น การกำเริบของผื่นที่เห่อลุกลามส่วนใหญ่จะมาจากการเกาของผู้ป่วย เนื่องจากผื่นที่เกิดขึ้นจะมีอาการเด่นคืออาการคัน เมื่อมีการเกาจะทำให้โรคเกิดการลุกลามและเห่อของผื่นมากขึ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ปัจจัยที่เป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นมีความรุนแรงมากขึ้น ได้แก่
•สภาพอากาศ ยกตัวอย่างเช่น อากาศร้อน อากาศเย็น การอาบน้ำร้อน และสภาพอากาศที่แห้ง ล้วนเป็นตัวกระตุ้นให้ผื่นเกิดการเห่อรุนแรงขึ้นได้
•อาหารบางชนิด ได้แก่ นม ไข่ ถั่ว อาหารทะเล ซึ่งพบว่าอาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยบางรายที่มีการแพ้อาหารดังกล่าว
•สารระคายเคือง และสารชำระล้างทำความสะอาด เช่น น้ำหอม สบู่ ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม เป็นต้น
•เนื้อผ้าบางชนิดที่ระคายเคืองต่อผิว
•สารก่อภูมิแพ้ที่พบบ่อยในอากาศ เช่น ตัวไรฝุ่น
•การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราที่ผิวหนัง จากการเกาของผู้ป่วย
•การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด และความวิตกกังวล

>> อาการที่มักเกิดขึ้นของโรคผื่นแพ้ผิวหนังอักเสบ คือ ผู้ป่วยจะมีผิวที่ค่อนข้างแห้ง หรือแห้งมาก และมีอาการคันอย่างมากเป็นอาการเด่น ลักษณะการอักเสบของผิวหนังอาจแบ่งได้เป็นหลายระยะ ตั้งแต่ระยะเฉียบพลันจนถึงระยะเรื้อรัง ในระยะเฉียบพลันมักมีรอยโรคที่มีลักษณะเห่อแดงคัน อาจมีตุ่มน้ำใสเล็กๆ หรือมีน้ำเหลืองเยิ้มซึมซึ่งมีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนังร่วมด้วย ในระยะรองจากเฉียบพลันรอยโรคจะมีลักษณะเป็นขุยแห้งหรือมีสะเก็ด และระยะเรื้อรังซึ่งรอยโรคจะมีลักษณะเป็นปื้นนูน คัน มีขุย และมีการหนาตัวของผิวหนัง

สำหรับบริเวณหรือตำแหน่งที่มีการเกิดรอยโรคจะมีความแตกต่างกันตามวัยของผู้ป่วย ยกตัวอย่างเช่น ในวัยทารกผื่นที่เกิดขึ้นมักจะเกิดบริเวณแก้ม และด้านนอกของแขนขา ข้อมือ ข้อเท้า ขณะที่วัยเด็กโตและผู้ใหญ่มักพบผื่นที่มีความหนาขึ้นที่บริเวณข้อพับต่างๆ เช่น ข้อพับแขนขา บริเวณลำคอ หรือหากมีการเกาอาจเป็นปื้นลามไปทั่วร่างกายได้

ผิวแพ้ง่าย Sensitive Skin ดูแลได้อย่างไร?


>> การป้องกันและรักษาผื่นแพ้ผิวหนัง และการดูแลผิวที่แพ้ง่าย มีหลักการที่สามารถทำได้ดังต่อไปนี้
•หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดการกำเริบของผื่นแพ้ดังที่กล่าวมาข้างต้น
•หลีกเลี่ยงสภาพอากาศที่ร้อนจัดหรือหนาวจัด เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าวจะทำให้ร่างกายมีเหงื่อออก และสภาพอากาศที่เย็นจัดซึ่งมีความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่กระตุ้นให้เกิดผื่นคันได้
•รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง โดยการหลีกเลี่ยงการอาบน้ำอุ่น หรือการอาบน้ำที่บ่อยจนเกินไปซึ่งอาจทำให้เกิดผิวแห้งได้ นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีภาวะผิวแพ้ง่ายและผิวแห้ง การป้องกันความแห้งของผิวโดยการใช้สารเคลือบผิวเป็นสิ่งที่แนะนำ สารเคลือบผิวดังกล่าวอาจเป็นครีมหรือโลชั่นบำรุงผิวที่มีความอ่อนโยนกับผิวแพ้ง่ายและปราศจากน้ำหอม หรือในกรณีที่ผิวมีความแห้งมากอาจใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะเป็นน้ำมันเคลือบผิว
•ซึ่งผลิตภัณฑ์เคลือบผิวเหล่านี้มีการแนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์หลังการอาบน้ำและซับผิวหรือเช็ดตัวภายในระยะเวลา 3-5 นาที เพื่อให้เกิดการปกคลุมผิวในช่วงที่ผิวยังมีความชุ่มชื้นอยู่
•ผลิตภัณฑ์ที่เลือกใช้เพื่อการทำความสะอาดผิวและบำรุงผิว ควรเลือกผลิตภัณฑ์ที่ไม่ก่อการระคายเคืองต่อผิวหนังและปราศจากน้ำหอม
•ควรเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่เนื้อโปร่งสบาย ระบายอากาศได้ง่าย เช่น ผ้าฝ้าย และหลีกเลี่ยงผ้าที่มีเนื้อหนาและหยาบ
•รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ ทำจิตใจให้สดชื่นแจ่มใส หลีกเลี่ยงความเครียดและความวิตกกังวล
•รักษาสุขอนามัยส่วนตัวโดยการตัดเล็บให้สั้นและหลีกเลี่ยงการเกาบริเวณที่มีผื่นคัน
•เมื่อเกิดผื่นภูมิแพ้ผิวหนังขึ้นแล้ว การรักษาสามารถทำได้โดยการให้ยาทาเฉพาะที่ ได้แก่ ยากลุ่ม สเตียรอยด์ซึ่งให้ผลการรักษาที่ดีและทำให้ผื่นยุบได้เร็วมาก อย่างไรก็ตามการใช้ยากลุ่มนี้จะต้องมีความระมัดระวังในการใช้ และต้องเลือกชนิดของยาให้เหมาะสมกับตำแหน่งบริเวณที่ใช้ยานั้น เนื่องจากอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาตามมาได้หากใช้ยาไม่ถูกต้อง เช่น ผิวหนังบาง แผลแตก เกิดการติดเชื้อได้ง่าย และยาอาจดูดซึมเข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดการทำงานที่ผิดปกติของเซลล์ต่างๆเช่นเซลล์ต่อมหมวกไต ดังนั้นก่อนการใช้ยากลุ่มนี้จึงควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อให้การใช้ยามีประสิทธิภาพมากที่สุดและเกิดผลข้างเคียงน้อยที่สุด ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการคันมากๆ อาจมีการให้ยาแก้แพ้กลุ่ม anti-histamine ชนิดรับประทานร่วมกับการใช้ยาทาเฉพาะที่ ซึ่งยากลุ่มดังกล่าวอาจส่งผลข้างเคียงทำให้เกิดการง่วงนอนได้ นอกจากนี้ยังมียากลุ่มใหม่คือกลุ่มยากดภูมิคุ้มกัน calcineurin inhibitors สามารถควบคุมการอักเสบและการกำเริบของผื่น ซึ่งถูกนำมาใช้ทดแทนยากลุ่มสเตียรอยด์เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงจากการใช้ยาต่อเนื่องเป็นเวลานาน อย่างไรก็ตามยากลุ่มดังกล่าวยังค่อนข้างมีราคาแพงในปัจจุบัน
•เมื่อมีผื่นเกิดขึ้นควรมีการระวังป้องกันการติดเชื้อแทรกซ้อนที่ผิวหนังบริเวณที่เกิดผื่น โดยหลีกเลี่ยงการเกาซึ่งอาจทำให้เกิดแผลเปิด และหากมีการติดเชื้อเกิดขึ้นแล้ว เช่นมีหนองหรือคราบน้ำเหลืองผู้ป่วยควรดูแลแผลโดยการประคบด้วยผ้าก๊อซชุบน้ำเกลือล้างแผล ซับหมาดๆและประคบลงบนผื่น 10-15 นาที วันละ 3-4 ครั้ง และมีการให้ยาปฏิชีวนะชนิดรับประทานหรือยาทาร่วมด้วย

Cr: หมอรุจชวนคุย

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
https://bit.ly/3G3I8fI 
โรคผิวหนังอักเสบเซ็บเดิร์ม Seborrheic Dermatitis หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน คืออะไร รักษาได้อย่างไร
https://bit.ly/3IAaUGm 
ผื่น lichen amyloidosus (หรือ amyloidosis) มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร
https://bit.ly/3IAxDSA 
https://youtu.be/Jx4h-k00ODQ 
https://youtu.be/E80jIyHS2Q8 
https://youtu.be/8sSUB6s_tMo 

............

คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic 


.
ฝากติดตามข้อมูลด้าน สิว หลุมสิว แผลเป็น เส้นผม และทุกปัญหาผิวกับหมอรุจได้ที่
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic    
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj   
www.facebook.com/drsuparuj    
Youtube https://bit.ly/3p20YLE    
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1    
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/    
https://mobile.twitter.com/drruj1    
www.demedclinic.com   / www.demedhaircenter.com    

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้