แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 4: แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid Scar มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร ?

Last updated: 1 ก.พ. 2565  |  3401 จำนวนผู้เข้าชม  | 

แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 4: แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid Scar มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร ?

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล 

 

แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 4: แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid Scar มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร ?
.
หมอมีคลิปลักษณะของแผลเป็นนูนคีลอยด์มาฝากครับ
แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid Scar)
•คือแผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีลักษณะนูนเงาและขยายใหญ่กว่าแผลเป็นที่เกิดขึ้น ในช่วงแรกๆ จะปรากฏเป็นสีแดงแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีคล้ำหรือซีดลง โดยอาจเกิดขึ้นทันทีที่แผลหายหรือหลังจากที่แผลหายดีได้สักพัก บางครั้งอาจใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีกว่าจะก่อตัวขึ้นมา https://youtu.be/01QeGJC8kLo 
•อาจทำให้รู้สึกเจ็บ คัน ระคายเคืองและส่งผลกระทบถึงเรื่องความสวยความงาม สามารถเกิดได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยส่วนใหญ่มักขึ้นตาม หน้าอก หัวไหล่ หลัง ลำคอ และติ่งหู ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์จะคงอยู่เป็นเวลาหลายปี
.

 แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid Scar

แนะนำเทคนิคดูแลแผลเป็นนูนคีลอยด์ Ep. 4: แผลเป็นนูนคีลอยด์ Keloid Scar มีลักษณะอย่างไร ดูแลได้อย่างไร ?

แผลเป็นคีลอยด์เกิดจากอะไร?
•สาเหตุของการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ เกิดมาจากความผิดปกติของกระบวนการรักษาแผลตามธรรมชาติของร่างกาย โดยปกติผิวหนังจะมีการสร้างเนื้อเยื่อและคอลลาเจนเพื่อซ่อมแซมส่วนที่เสียหาย แต่หากกระบวนการนี้ทำงานมากจนเกินไปจะทำให้เกิดแผลเป็น โดยจะก่อตัวขึ้นหลังจากที่ได้รับบาดแผลบริเวณผิวหนัง เช่น แผลจากการผ่าตัด แผลจากการเจาะตามร่างกาย แผลไหม้ แผลจากอีสุกอีใส แผลจากสิว หรือแม้กระทั่งแผลที่เกิดจากรอยขีดข่วนเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งแผลเป็นคีลอยด์จะแตกต่างจากแผลเป็นทั่วไป
•ตรงที่แผลเป็นส่วนใหญ่จะค่อยๆ จางหายได้เองตามธรรมชาติ แต่แผลเป็นคีลอด์จะค่อยๆ ขยายใหญ่และนูนขึ้นกว่าแผลเดิม มักเกิดขึ้นกับผู้ที่มีอายุระหว่าง 10 – 30 ปี อาจมีแนวโน้มจากพันธุกรรม ซึ่งผู้ที่เป็นแผลคีลอยด์ก็อาจมีสมาชิกในครอบครัวที่เคยเป็นคีลอยด์ได้เช่นเดียวกัน
.
การตรวจทางพยาธิวิทยา
•พบว่าลักษณะของ fibroblasts ที่พบใน keloid scar และ hypertrophic scar ไม่มีความแตกต่างกันแต่สิ่งที่ต่างกันคือการทำงานของ fibroblasts
•ใน keloid scar จะสร้าง collagen, elastin, fibronectin และ proteoglycan ในปริมาณที่มากกว่า1
•และใน keloid scar จะประกอบด้วย collagen type I และ type III ที่เรียงตัวกันไม่เป็นระเบียบ ไม่ขนานกัน ส่วน hypertrophic scar จะมี collagen bundles ส่วนใหญ่เป็น type I ที่เรียงตัวขนานกันมากกว่าและส่วนใหญ่จะขนานกับ epithelial surface
.
การรักษาแผลเป็นคีลอยด์
แนวทางในการรักษาแผลเป็นคีลอยด์มีหลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะของแผลคีลอยด์ที่เกิดขึ้น โดยจำแนกการรักษาแผลเป็นคีลอยด์ได้ดังนี้

1.การผ่าตัดแก้ไขแผลเป็น Surgical Scar Revision เป็นวิธีการตัดแผลออกหรือลดขนาดของแผลเป็นให้เล็กลง ซึ่งการตัดแผลจะทำโดยการผ่าตัดบริเวณที่เป็นแผลออกแล้วเย็บปิดเป็นเส้นตรง •มักใช้ในกรณีที่เป็นแผลขนาดเล็กและเกิดขึ้นตามร่างกายในส่วนที่พอจะเย็บแผลได้ บางส่วนของร่างกายก็ไม่สามารถใช้วิธีการผ่าตัดได้ เช่น ผิวหนังบริเวณหน้าท้องที่มีความยืดหยุ่นสูง หรือในบางกรณีอาจจะใช้วิธีการผ่าตัดแผลเป็นคีลอยด์ออกเป็นรูปซิกแซก เพื่อให้แผลที่เกิดขึ้นใหม่มีลักษณะย่นตามผิวหนัง
•หลังการผ่าตัดมักต้องใช้การรักษาอื่นๆเช่นการฉีดยาหรือการฉายรังสีเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

2.การฉีดยาเสตียรอยด์ (Intra lesional corticosteroid injection ) เพื่อลดการอักเสบของแผล ซึ่งแพทย์จะใช้ยา Triamcinolone acetonide ซึ่งเป็นยาฉีดเฉพาะที่ ฉีดเข้าไปในบริเวณที่เป็นแผลเป็นคีลอยด์โดยตรง โดยผู้ป่วยควรทำการฉีดยาอย่างต่อเนื่องเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้ความถี่ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของยากับแผลเป็นว่ามีผลเป็นอย่างไร

3.การฉายรังสี (Radiotherapy) เพื่อป้องกันไม่ให้แผลเป็นนูนมากขึ้น โดยแพทย์อาจใช้การฉายรังสีผ่านเครื่อง SRT (Stereotactic Radiotherapy) ซี่งเป็นการฉายรังสีพลังงานสูงไปยังบริเวณรอยแผลเป็นที่มีความแม่นยำสูง โดยจะแบ่งการฉายแสงออกเป็นหลายๆ ครั้ง (Fractionation) เพื่อลดผลข้างเคียงจากการฉายแสง การรักษาด้วยวิธีนี้จะไม่สามารถทำให้แผลเป็นคีลอยด์หายขาดได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เพียงแต่จะช่วยป้องกันไม่ให้แผลเป็นขยายใหญ่ขึ้นอีกในอนาคต

4.เลเซอร์รอยแผลเป็น (Laser therapy) เช่น Vbeam, Fractional Laser, Picosecond Laser เพื่อปรับโครงสร้างเนื้อเยื่อรอยแผลเป็น

ทั้งนี้แพทย์อาจใช้หลายวิธีการรักษาร่วมกันเพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุดครับ .
.
Cr: หมอรุจชวนคุย
.
Wound healing is the physiologic process include the repair or reconstitution of a defect in organ or tissue, commonly the skin. Keloid scar is the abnormal wound healing that are not only aesthetically displeasing, but can also be both painful and functionally disabling, causing patients both physical and psychological distress. The purpose of this review article is to discuss basic knowledge and update managements for keloid scar that will be useful for the general physicians.

https://bit.ly/3I6fUSS 
https://youtu.be/iXA13naxp4E 
https://youtu.be/dMU9npJYjFU 
https://youtu.be/WvNThcZSVgo 
https://youtu.be/0fQsXzEQxiY 
https://youtu.be/95fee0bB6kQ 
.


คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic


.
ฝากติดตามข้อมูลด้าน สิว หลุมสิว แผลเป็น เส้นผม และทุกปัญหาผิวกับหมอรุจได้ที่
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic 
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/drsuparuj  
www.facebook.com/drsuparuj  
Youtube https://bit.ly/3p20YLE  
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1  
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/  
https://mobile.twitter.com/drruj1  
www.demedclinic.com   / www.demedhaircenter.com  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้