Last updated: 7 ธ.ค. 2564 | 11893 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก – สาเหตุและการปกป้องผิวแพ้ง่าย
โดยรองศาสตราจารย์ นายแพทย์ เทอดพงศ์ เต็มภาคย์
✅ตารางตรวจเรื่องผิวหนังเด็กที่ DeMed Clinic
>> ตารางตรวจ: ทุกวันจันทร์ และ พุธ ที่ เดอเมช คลินิก
>> เพื่อความสะดวกของคุณแม่สามารถสอบถามข้อมูล/
>> จองคิวนัดตรวจได้ที่เบอร์และ line พิเศษเพื่อการนัดตรวจกับอาจารย์เทอดพงศ์ได้ที่ 0836699449
>> Line: DeMedclinic1 (12.00-20.00น.)
***ถ้าไม่มีเจ้าหน้าที่รับสาย เดี๋ยวเจ้าหน้าที่จะรีบติดต่อกลับอย่างเร็วที่สุดค่ะ***
✅ติดตาม สาระความรู้และเทคนิคการดูแลผิวหนังสำหรับลูกน้อยได้ที่ >> https://bit.ly/2Yt2USG
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ เด็กจะมีผิวหนังแห้ง แดงอักเสบที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจง และมีอาการคันมาก นอกจากนี้ผิวหนังจะไวต่อกระตุ้นภายนอกที่ทำให้มีผื่นขึ้นเป็นๆ หายๆ หลายครั้งที่คุณแม่มักประสบปัญหาลูกน้อยงอแงในเวลานอน ร้องไห้หรือตื่นกลางดึก เนื่องจากถูกรบกวนจากอาการคัน กระทบต่อคุณภาพการนอน พัฒนาการ และอาจเกิดเป็นปัญหาใหญ่ได้ในอนาคต ดังนั้นการรู้สาเหตุของโรคและรู้วิธีการรับมืออย่างถูกต้อง จึงเป็นสิ่งสำคัญ
สาเหตุของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน มีส่วนเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม เด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้มักมีพ่อแม่หรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ และผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร่วมด้วย
อาการของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ลักษณะของโรคที่พบแตกต่างกันตามอายุ ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมีอาการก่อนอายุ 5 ปี อาจแบ่งอาการของโรคนี้ออกเป็น 3 ช่วงอายุ คือ
วัยทารก พบตั้งแต่อายุ 2-3 เดือนขึ้นไป ผื่นจะขึ้นบริเวณแก้ม ใบหน้า ศีรษะ ลำตัว ด้านนอกของแขนขา ข้อมือและข้อเท้า โดยลักษณะผื่นจะเป็นตุ่มแดง คัน หรือตุ่มน้ำใสมีน้ำเหลืองซึม ต่อมาอาจแห้งเป็นสะเก็ด
วัยเด็กโต ผื่นจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือปื้นแดงหนาที่คอ ข้อพับต่างๆ เช่น ข้อพับของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง มีอาการคันมากและเกาจนเป็นผื่นหนา แข็ง มีขุย โดยเฉพาะถ้าเป็นผื่นเรื้อรัง
วัยผู้ใหญ่ ผื่นจะเหมือนในเด็กโต แต่อาจมีผื่นที่ข้อมือและข้อเท้าร่วมด้วย พบได้บ่อยที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการเป็นมาก ผื่นสามารถขึ้นได้ทั่วร่างกาย
นอกจากนี้ ผู้ป่วยจะมีผิวไวต่อสภาพแวดล้อม เช่น เหงื่อ ความร้อน ความเย็น สารเคมีที่ระคายเคืองต่างๆ
หรือผิวหนังอาจติดเชื้อได้ง่าย โดยเฉพาะการติดเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และเกิดจากการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย
การรักษา
1.การหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ ที่ทำให้ผื่นกำเริบ
- ไม่ควรอาบน้ำบ่อยๆ ไม่ควรใช้น้ำที่อุ่นหรือร้อนจนเกินไป และไม่ขัดถูผิวแรงๆขณะอาบน้ำ
เลือกใช้สบู่อ่อนๆ ที่เหมาะสมกับผิวแพ้ง่าย ไม่ควรฟอกสบู่บ่อยเกินไป ไม่ควรใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดหรือด่างรุนแรง
- เลือกใช้เสื้อผ้าเนื้อนุ่ม โปร่ง ใส่สบาย ระบายความร้อนได้ดี ไม่ควรใส่เสื้อขนสัตว์ ผ้าเนื้อหนาหยาบจนเกินไป
ทารกที่มีประวัติครอบครัวที่เสี่ยงต่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ควรแนะนำให้ดื่มนมมารดา เพื่อหลีกเลี่ยงการแพ้นมวัว ไม่รับประทานอาหารที่ทราบแน่ชัดว่าทำให้ผื่นกำเริบ
2. การให้ความชุ่มชื้นแก่ผิวโดยผลิตภัณฑ์บำรุงผิว
เลือกผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่ป้องกันการสูญเสียน้ำ เช่น โลชั่น ครีมบำรุง ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์บำรุงผิวที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับผู้ป่วยผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นจำนวนมาก เช่นเพื่อช่วยลดอาการอักเสบ แดง ลดอาการคันทำให้ผิวชุ่มชื้นยาวนาน ปราศจากน้ำหอม สีและสารกันเสีย ไม่ทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองผิว
3. การทายาลดอาการอักเสบ
ยาทาสเตียรอยด์ หรือยาทากลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ Topical Calcineurin Inhibitor (TCI) ได้แก่ tacrolimus และ pimecrolimus ใช้ทาเฉพาะตำแหน่งที่มีผื่นแดงอักเสบ เมื่ออาการทุเลาแล้วควรหยุดใช้ และควรอยู่ในการดูแลของแพทย์เท่านั้น การทาติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้มีผลข้างเคียงเฉพาะที่หรือเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ในรายที่มีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนเป็นตุ่มหนอง หรือน้ำเหลืองซึม ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อรับแนะนำการทำความสะอาดแผล อาจต้องใช้ยาปฏิชีวนะชนิดทาหรือกินร่วมด้วย
......
https://bit.ly/3pFomzK
https://bit.ly/3j4YJpv
https://www.blockdit.com/posts/61a8e12dc217db03723484fa
https://www.demedclinic.com/contactus