Last updated: 17 มิ.ย. 2564 | 14164 จำนวนผู้เข้าชม |
สิวอักเสบดูแลอย่างไรดี
สิวอักเสบคืออะไร?
สิวอักเสบ (Inflammatory acne) หรือ Papulopustular acne คือสิวอุดตัน (Comedones) ที่มีแบคทีเรีย Propionibacterium acnes (P.acnes) เจริญเติบโตอยู่ในตุ่มสิว โดย P.acnes สามารถดึงดูดเม็ดเลือดขาวเข้ามาในตุ่มสิว กระตุ้นให้เกิดการอักเสบ และยังมีเอนไซม์ช่วยในการย่อยน้ำมัน (Sebum) ในตุ่มสิวให้กลายเป็นกรดไขมันที่มีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดการอักเสบอีกด้วย สิวอักเสบสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามขนาดของตุ่มสิวอักเสบ และความรุนแรงของอาการอักเสบ ดังนี้
ขอบคุณภาพประกอบ : หมอมวลชน www.mmc.co.th
สิวชนิดตุ่มนูนแดง (Papule)เป็นตุ่มแดงเจ็บ ขนาดไม่เกิน 0.5 ซม. ส่วนมากสิวชนิดนี้เป็นสิวอักเสบในระยะแรกที่เปลี่ยนมาจากสิวอุดตัน
สิวหัวหนอง (Pustule)มีลักษณะเป็นตุ่มแดงและปวด ข้างบนตุ่มมีหัวหนองสีเหลือง เป็นสิวที่มีอาการอักเสบมากกว่าสิวอักเสบชนิด Papule หรืออาจเกิดจากสิวมีการติดเชื้อแบคทีเรียอื่นแทรกซ้อน
สิวอักเสบแดงเป็นก้อนลึก (Nodule) เป็นตุ่มแดงเจ็บขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง โดยมีขนาดเกิน 0.5 ซม. มีอาการเจ็บปวดค่อนข้างมาก สาเหตุมักเกิดจากเป็นสิวอักเสบชนิด Papule แล้วมีการกดบีบสิว ทำให้แบคทีเรียและน้ำมันในตุ่มสิวแตกกระจายอยู่ใต้ผิวหนัง ทำให้สิวยิ่งอักเสบบวมแดง
สิวเป็นถุงขนาดใหญ่ใต้ผิวหนัง (Acne Cyst)พบได้ไม่บ่อย ถุงน้ำใต้ผิวหนังอาจมีขนาดใหญ่หลายเซนติเมตร ไม่แดง ไม่ปวด มีลักษณะเป็นถุงภายในและมีของเหลวข้นหนืดสีเหลือง สิวชนิดนี้แม้จะรักษาจนยุบแล้ว แต่หลังจากนั้นมักจะกลายเป็นแผลเป็นก้อนนูนแข็งหรือหลุมสิวขนาดใหญ่
สิวหัวช้าง (Acne Conglobata) เป็นสิวอักเสบชนิดหนึ่งที่มีความรุนแรงมาก มักเป็นในวัยรุ่นผู้ชายที่มีผิวหน้ามันมาก บางรายมีประวัติคนในครอบครัวเป็นสิวหัวช้างด้วย สิวหัวช้างมีลักษณะเป็นสิวอักเสบรุนแรงทุกชนิดขึ้นรวมกันหนาแน่น ได้แก่ สิวชนิด pustule, nodule และ cyst หัวสิวมักแตก มีหนองและน้ำเหลืองไหลตลอดเวลา มักมีเกิดที่ใบหน้า, หน้าอก และหลัง รักษาได้ยาก และหากได้รับการรักษาที่ผิดวิธีอาจทำให้สิวลุกลามติดเชื้อมากขึ้น เซลล์ผิวหนังถูกทำลายจนกลายเป็นแผลเป็นขนาดใหญ่หรือหลุมสิวถาวร
ยาทาภายนอกสำหรับรักษาสิวอักเสบ
ยาทาถือเป็นการรักษาสิวที่ได้รับความนิยมที่สุด เนื่องจากสะดวก และไม่มีผลข้างเคียงเหมือนยากิน แต่หากเป็นสิวอักเสบรุนแรง การรักษาด้วยยาทามักไม่เพียงพอ ต้องใช้ร่วมกับยากิน
ยากลุ่ม Benzoyl peroxideใช้ทาก่อนล้างหน้า 5-15 นาที เป็นยาทาที่ออกฤทธิ์หลายอย่าง เช่น ลดการอักเสบ ทำให้ผิวหนังลอกหลุดเร็วขึ้น ช่วยลดสิวอุดตันและฆ่าแบคทีเรีย P.acnes ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือช่วยป้องกันเชื้อดื้อยาด้วย ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้คือ ทำให้ผิวแห้งลอกเป็นขุย คัน แสบ โดยเฉพาะในช่วงแรกที่ทายา
ยาทาปฏิชีวนะ หรือ ยาฆ่าเชื้อ (Topical antibiotics) เป็นยาปฏิชีวนะที่มีคุณสมบัติฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการอักเสบ ห้ามใช้รักษาสิวเป็นยาเดี่ยว เพราะแบคทีเรียจะดื้อยาอย่างรวดเร็ว ในระยะแรกควรใช้ร่วมกับยาทาอื่นๆ แล้วค่อยหยุดเมื่ออาการเริ่มดีขึ้น
ยาทาเรตินอยด์ (อนุพันธ์ของกรดวิตามินเอ) ช่วยกระตุ้นการผลัดเซลล์ผิวหนัง ลดสิวอุดตันและลดการอักเสบ แต่ขาดคุณสมบัติการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย และไม่สามารถลดการสร้างน้ำมันบนผิวหนังได้ ด้วยคุณสมบัติที่ดีของยากลุ่มนี้ จึงสามารถใช้ร่วมกับการรักษาสิวทุกระยะ และใช้ทาป้องกันการเกิดสิวอุดตันได้ด้วย ผลข้างเคียงคือ ทำให้ผิวลอก คัน แดง และทำให้ผิวหน้าบางลง จึงต้องทาครีมกันแดดทุกครั้งก่อนออกแดดและห้ามใช้ในหญิงตั้งครรภ์
กรดไฮดรอกซี (Hydroxy Acid)คือกรดอ่อนชนิดหนึ่งที่ออกฤทธิ์ในการผลัดเซลล์ผิวอย่างอ่อนโยน จัดการต้นตอของปัญหาผิวได้ดี โดยกรดไฮดรอกซี สามารถแบ่งออกได้หลายประเภทตามคุณสมบัติและที่มาของกรดนั้นๆ ส่วนใหญ่แล้วที่นิยมนำมาใช้ในสกินแคร์คือ
- กรดอัลฟาไฮดรอกซี (Alpha Hydroxy Acids) หรือ AHA : เป็นกรดที่ได้จากสารสกัดของผลไม้ เช่น กรดมาลิกในแอปเปิ้ล กรดซีตริกในมะนาวหรือผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว กรดแลกตริกในนมเปรี้ยว ฯลฯ มีฤทธิ์ช่วยผลัดเซลล์ผิวเก่าที่คล้ำเสียหรือตายแล้วซึ่งจับตัวกันเป็นก้อนให้หลุดลอกออกไป ช่วยละลายการอุดตัน จึงทำให้รอยสิวดูจางลง นอกจากนี้ ยังช่วยลดอาการอักเสบจากสิวอักเสบ กระชับรูขุมขน และกระตุ้นการเสริมสร้างคอลลาเจนในผิว ทำให้ผิวดูชุ่มชื้น เปล่งปลั่งและผิวหน้าใสขึ้น
- กรดเบต้าไฮดรอกซี (Beta hydroxy acid) หรือ BHA : เป็นกรดที่ได้จากการสังเคราะห์ หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อ กรดซาลิไซลิก (Salicylic Acid) คุณสมบัติเด่นของ BHA คือละลายน้ำมันได้ ออกฤทธิ์กับสภาพผิวมันหรือผิวเป็นสิวได้เป็นอย่างดี สามารถขจัดเซลล์ผิวเก่าอย่างอ่อนโยน นอกจากนั้นยังช่วยฟื้นบำรุงผิวจากการระคายเคือง และลดการอักเสบได้ดีอีกด้วย
หมอรุจชวนคุย
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
https://bit.ly/3vkIOaZ
https://youtu.be/LhxS1IZDmVw
https://youtu.be/s9ocFrPjMAE
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com
31 ธ.ค. 2567