Last updated: 13 ม.ค. 2566 | 3449 จำนวนผู้เข้าชม |
การปลูกผม (Hair Transplantation) คืออะไร
การปลูกผม (Hair Transplantation) เป็นหนึ่งในการศัลยกรรมผิวหนังเพื่อแก้ไขปัญหาศีรษะล้าน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วจะนำเอาผมของตัวผู้เข้ารับการปลูกผมมาใช้ในการปลูกผม การปลูกผมจะต้องทำภายในสถานพยาบาล และใช้ยาชาเฉพาะที่ในขณะที่ทำการปลูกผม
วิธีการปลูกผมแบ่งออกเป็น 2 วิธีใหญ่ ๆ คือ
✅1.การปลูกผมแบบตัดหนังศีรษะ (Follicular Unit Strip Surgery: FUSS) เป็นวิธีปลูกผมที่นำหนังศีรษะบริเวณที่มีผมขึ้นมาเย็บติดกับหนังศีรษะบริเวณที่ไม่มีผม โดยบริเวณท้ายทอยที่ได้ทำการผ่าตัดเอาหนังศีรษะออกมาจะถูกเย็บปิดแผลและกลายเป็นแผลเป็นต่อไป
✅2. การปลูกผมแบบไม่ผ่าตัด (Follicular Unit Extraction: FUE) เป็นวิธีการปลูกผมที่นำเอากอผมจากบริเวณหนังศีรษะของผู้เข้ารับการปลูกผม ฝังลงบนหนังศีรษะ โดยวิธีนี้จะแบ่งออกเป็นอีก 2 ประเภทย่อย ๆ ได้แก่
- การปลูกโดยใช้รากผมในปริมาณที่มาก (Slit Grafts) โดยจะใช้รากผม 4-10 รากต่อหลุมผมในแต่ละหลุม
- การปลูกโดยใช้ปริมาณผมน้อย (Micro-Grafts) ใช้รากผมเพียง 1-2 รากต่อหลุมผมในแต่ละหลุม
ในปัจจุบัน การปลูกผมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือการปลูกผมแบบถาวร (FUE) เนื่องจากเป็นวิธีที่ได้ผลดี อีกทั้งยังไม่ทำให้มีแผลเป็นจากการปลูกผมอีกด้วย
✅ ทำไมต้องปลูกผม
การปลูกผมมีจุดประสงค์เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นใจและปรับปรุงบุคลิกภาพ และถือเป็นการศัลยกรรมความงามชนิดหนึ่ง โดยผู้ที่เข้ารับการปลูกผมควรเป็นผู้มีคุณสมบัติดังนี้
- ผู้ชายที่มีภาวะศีรษะล้านแบบผู้ชาย
- ผู้หญิงที่มีลักษณะผมที่บาง
- ผู้ที่สูญเสียเส้นผมบางส่วนจากการไฟไหม้ หรืออาการบาดเจ็บที่หนังศีรษะ
อีกทั้งการปลูกผมยังมักใช้เพื่อช่วยรักษาปัญหาศีรษะล้านจากกรรมพันธุ์ (Andorgenetic Alopecia) ที่เกิดจากการถ่ายทอดยีนศีรษะล้านระหว่างคนในครอบครัว รวมถึงยังใช้ควบคู่กับการรักษาในผู้ป่วยที่มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนจนทำให้ศีรษะล้าน
✅ ข้อห้ามในการปลูกผม
แม้ว่าการปลูกผมจะสามารถช่วยแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว แต่ก็ไม่ใช่คำตอบที่ดีเสมอไป โดยการปลูกผมด้วยวิธีศัลยกรรมนั้นถือเป็นข้อห้ามของคนกลุ่มดังต่อไปนี้
- ผู้หญิงมีลักษณะศีรษะล้านแบบกระจัดกระจาย หรือมีการล้านของศีรษะที่กว้าง
- ผู้ที่มีปริมาณผมที่ใช้ในการปลูกไม่เพียงพอ
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องคีลอยด์หรือแผลเป็นง่ายเมื่อผ่าตัดหรือได้รับบาดเจ็บ
- ผู้ที่มีสาเหตุของศีรษะล้านอันเนื่องมาจากการรักษาทางการแพทย์ เช่น เคมีบำบัด
<<>> วิธีการปลูกผม
การปลูกผมจะเริ่มต้นด้วยการทำความสะอาดหนังศีรษะ หลังจากนั้นแพทย์จะฉีดยาชาเฉพาะที่ที่บริเวณหนังศีรษะด้วยเข็มฉีดยาขนาดเล็ก และเมื่อเริ่มรู้สึกชา แพทย์จะค่อย ๆ โกนผมที่ปกคลุมบริเวณที่ทำการปลูกผมออกเพื่อให้เห็นหนังศีรษะได้ชัดเจน จากนั้นวิธีการปลูกผมก็จะเริ่มแตกต่างกันไปตามวิธีที่ใช้ โดยถ้าเป็นการผ่าตัดหนังศีรษะ ศัลยแพทย์จะผ่าตัดนำหนังศีรษะที่ท้ายทอยออกมาปลูกบริเวณที่ไม่มีผม แล้วเย็บปิดแผลบริเวณที่นำหนังศีรษะออกมา
ส่วนวิธีแบบไม่ผ่าตัด จะมีการใช้เครื่องมือพิเศษดึงเอาเฉพาะเซลล์รากผมแล้วนำไปปลูกถ่ายบริเวณที่ล้าน ในการปลูก ศัลยแพทย์อาจขีดแบ่งพื้นที่บนหนังศีรษะ ก่อนจะใช้แว่นขยายและมีดผ่าตัดขนาดเล็กค่อย ๆ กรีดและนำรากผมฝังลงไปบนหนังศีรษะ วิธีดังกล่าวจะช่วยให้ผมที่ขึ้นมาดูเป็นธรรมชาติ
ทั้งนี้ในการปลูกผมในแต่ละครั้ง แพทย์อาจทำการปลูกผมในปริมาณตั้งแต่หลายร้อยเส้น ไปจนถึงหลายพันเส้น ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมงขึ้นไป เมื่อการปลูกผมเสร็จสิ้น ศัลยแพทย์จะนำผ้าก๊อชคือผ้าพันแผลที่สามารถระบายอากาศได้ปิดบริเวณที่ทำการปลูกผมไว้ประมาณ 1-2 วัน โดยในการปลูกผมอาจจะต้องทำซ้ำ 3-4 ครั้งจนกว่าได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจตามที่ผู้เข้ารับการปลูกผมต้องการ ขณะที่ในการปลูกผมแต่ละครั้งจะต้องทิ้งระยะเวลาห่างกันหลายเดือนเพื่อให้แผลจากการรักษาครั้งก่อนหายเป็นปกติแล้วจึงจะสามารถทำการปลูกผมในครั้งต่อไปได้
<<>>การเตรียมตัวก่อนปลูกผม
ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการปลูกผมด้วยวิธีการศัลยกรรมนี้ สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำคือแพทย์จะต้องระบุสาเหตุของอาการศีรษะล้าน เพื่อนำมาผลที่ได้มาวินิจฉัยว่าจำเป็นต้องใช้การปลูกผมเพื่อแก้ปัญหาหรือไม่ หากอาการหนังศีรษะล้านเกิดจากการรักษา การใช้ยา หรือเป็นเพียงอาการผมร่วงที่เกิดขึ้นชั่วคราว ก็อาจไม่จำเป็นต้องใช้การปลูกผมเข้าช่วย
หลังจากทราบสาเหตุแล้ว พร้อมกับทั้งผู้ที่มีปัญหาศีรษะล้านและศัลยแพทย์ตัดสินใจจะใช้การปลูกผมเพื่อรักษาอาการดังกล่าว ศัลยแพทย์จะแนะนำขั้นตอนในการเตรียมตัวเข้ารับการปลูกผม ผู้เข้ารับการปลูกผมจะต้องทำตามอย่างเคร่งครัดเพื่อเลี่ยงการเกิดปัญหาในขณะทำการปลูกผม และภาวะแทรกซ้อนที่อาจพบภายหลัง
แนวทางในการปฏิบัติตนก่อนเข้ารับการปลูกผมมีดังนี้
>> งดสูบบุหรี่ ผู้ที่สูบบุหรี่ควรหยุดสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการผ่าตัด และหลังจากการปลูกผมอย่างน้อย 1 เดือน เนื่องจากการสูบบุหรี่จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือดไปยังผิวหนัง และทำให้แผลจากการปลูกผมหายช้าลง
>> หยุดการรับประทานยา โดยเฉพาะวิตามินหรือยารักษาอาการบางชนิด เพราะยาอาจส่งผลกระทบต่อการรักษาได้
>> สระผมให้สะอาดและหลีกเลี่ยงการจัดแต่งทรงผม ในวันที่มีการปลูกผม ควรสระผมให้สะอาดตั้งแต่ตอนเช้า และเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผมทุกชนิด บางครั้งศัลยแพทย์อาจแนะนำให้ผู้เข้ารับการปลูกผมงดการตัดผมอย่างน้อย 1 เดือนก่อนเริ่มทำการปลูกผมเพื่อให้ผมส่วนอื่นยาวพอที่จะนำมาปิดส่วนที่ปลูกผมได้
นอกจากนี้ยังควรวางแผนในการเดินทางไป-กลับในวันที่ทำการปลูกผมด้วย เนื่องจากผู้ที่เข้ารับการปลูกผมไม่ควรขับขี่รถยนต์กลับบ้านเพียงลำพัง อีกทั้งยังควรวางแผนในการหยุดงานเพื่อพักฟื้นอย่างน้อย 1 สัปดาห์จะดีที่สุด ถึงแม้ว่าแพทย์จะแนะนำให้พักผ่อนและกลับไปทำงานได้ภายใน 1-2 วันก็ตาม
✅การดูแลหลังปลูกผม
หลังจากการปลูกผม หนังศีรษะของผู้เข้ารับการปลูกผมอาจมีอาการบวมอย่างมาก และอาจต้องใช้ยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการจนกว่าจะทุเลาลง ศัลยแพทย์จะให้ผู้เข้ารับการปลูกผมปิดผ้าพันแผลที่บริเวณหนังศีรษะอย่างน้อย 1-2 วัน นอกจากนี้ยังอาจมีการสั่งให้ใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านอาการอักเสบต่อเนื่องหลายวัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่เข้ารับการปลูกผมจะสามารถกลับไปทำงานได้ภายใน 2-5 วัน
เมื่อผ่านไปประมาณ 2-3 สัปดาห์หลังการปลูกผม ผมที่รับการปลูกถ่ายมาจะเริ่มร่วง ซึ่งนั่นไม่ใช่ความผิดปกติ เพราะผมเส้นใหม่จะเริ่มขึ้นภายในเวลาไม่กี่เดือนต่อมา โดย 60% ของผู้ที่เข้ารับการปลูกผมนั้นพบว่าเส้นผมใหม่จะใช้เวลาขึ้นประมาณ 6-9 เดือน ศัลยแพทย์บางท่านอาจสั่งใช้ยาเร่งผมยาวร่วมด้วยเพื่อช่วยให้ผมขึ้นหลังจากการปลูกผม แต่ก็ยังไม่มีผลแน่ชัดว่าวิธีนี้จะช่วยได้จริงหรือไม่
✅การปลูกผมด้วยวิธีการศัลยกรรมมีภาวะแทรกซ้อนที่ควรระมัดระวังและผลข้างเคียงที่อาจพบได้ ซึ่งโดยส่วนใหญ่มักจะเกิดมาจากการติดเชื้อ เช่น
<> เลือดออกมากผิดปกติ
<> เกิดการติดเชื้อบนหนังศีรษะ
<> หนังศีรษะบวม
<> มีรอยช้ำบริเวณรอบดวงตา
<> มีแผลตกสะเก็ดหรือน้ำเหลืองที่บริเวณหนังศีรษะที่ทำการปลูกผม หรือบริเวณที่ผมถูกย้ายไปปลูกที่อื่น
<> รู้สึกชาหรือไม่มีความรู้สึกบริเวณหนังศีรษะที่ทำการปลูกผม
<> มีอาการคัน
<> แผลเป็นบนหนังศีรษะจากการปลูกผม
<> เกิดอาการอักเสบหรือการติดเชื้อที่ต่อมขุมขน (Folliculitis)
นอกจากนี้ยังอาจพบอาการผมร่วงที่ได้รับการปลูกถ่ายร่วงอย่างกะทันหัน ซึ่งเรียกว่า (Shock Loss) แต่จะเกิดขึ้นชั่วคราว เพราะหลังจากนั้นผมจะเริ่มขึ้นใหม่อีกครั้ง แต่ถ้าหากเวลาผ่านไปแล้วผมยังไม่ขึ้นหรือมีอาการอักเสบ อาการติดเชื้อเกิดรุนแรงขึ้นควรจะรีบกลับไปพบแพทย์
Cr : หมอรุจชวนคุย
https://www.youtube.com/watch?v=Seveu9fS9wI&t=11s
https://www.facebook.com/454651174702057/posts/1838147489685745/
....
จองโปรแกรมรักษาและสอบถามข้อเสนอพิเศษที่นี่
คลิก!! Line : @demedclinic
...
>>> ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic
Youtube: https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit: https://bit.ly/3d8vYr1
Tiktok : https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com