รักษาหูดที่ฝ่ามือด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอก Paring และการพ่นเย็น Cryotherapy

Last updated: 26 ธ.ค. 2561  |  16020 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รักษาหูดที่ฝ่ามือด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอก Paring และการพ่นเย็น Cryotherapy

 

 

 

รักษาหูดที่ฝ่ามือด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอก Paring และการพ่นเย็น Cryotherapy

หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า เกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) ซึ่งระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น
โดยหูดบริเวณฝ่ามือฝ่าเท้า จะมีลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บครับ
หากเป็น #หูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปบริเวณอื่นของร่างกาย และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

การรักษามีหลายวิธีครับ
หมอมีคลิปการรักษาหูดด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอกออก #paring ร่วมกับการพ่นด้วยความเย็น #Cryotherapy มาฝากครับ
#Wart #HPV #Treatment

ผศ. นพ. #ศุภะรุจ เลื่องอรุณ #หมอรุจ MD., MSc.
Board of Internal Medicine
Fellowship in Laser and Dermatosurgery
https://youtu.be/MOGg8MrYu9s

https://www.facebook.com/454651174702057/posts/1137578799742621/

รักษาหูดที่ฝ่ามือด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอก Paring และการพ่นเย็น Cryotherapy

 

หูด คืออะไร
หูด เป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่ง ซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัส Human Papilloma Virus (HPV) โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้จะกระตุ้นให้เซลล์ผิวหนังเกิดการหนาตัวหรือแข็งตัวขึ้น ส่วนใหญ่มักพบในเด็กและวัยรุ่น หูดมีหลายขนาดและหลายลักษณะ สามารถเกิดได้ตามผิวหนังทุกส่วนของร่างกาย

หูดสามารถแพร่กระจาย ติดต่อโดยการสัมผัสทางผิวหนัง และทางเพศสัมพันธ์ ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของหูด โดยเชื้อจะเข้าสู่ร่างกายทางผิวหนังที่เกิดการถลอก มีรอยขีดข่วน มีแผลหรือถูกกดทับ การสัมผัสกับบริเวณผิวหนังที่เป็นหูดหรือการหยิบจับของที่มีเชื้อไวรัสปนเปื้อนอยู่ ทั้งนี้หูดยังสามารถติดต่อจากส่วนหนึ่งของร่างกายไปยังอีกส่วนหนึ่งได้ รวมทั้งการแกะเกาก็สามารถทำให้เกิดการแพร่กระจายของหูดไปยังส่วนอื่นๆ ได้เช่นกัน

รักษาหูดที่ฝ่ามือด้วยการฝานผิวหนังชั้นนอก Paring และการพ่นเย็น Cryotherapy

 

หูด มีกี่ลักษณะ
ลักษณะของรอยโรคขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของไวรัสและบริเวณที่เป็น สามารถแบ่งได้เป็น 5 กลุ่มดังนี้

1. หูดธรรมดา ลักษณะเป็นตุ่มนูนแข็ง ผิวค่อนข้างขรุขระ สีเหมือนผิวหนังหรือสีดำ อาจมีเม็ดเดียวหรือหลายเม็ด

2. หูดผิวเรียบ ลักษณะเป็นตุ่มแบน ผิวเรียบ สีเหมือนผิวหนัง

3. หูดฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลักษณะเป็นปื้นหนาแข็งฝังอยู่ในเนื้อ สีค่อนข้างเหลือง เมื่อยืนเดินลงน้ำหนักหรือกดทับจะเจ็บ

4. หูดที่อวัยวะเพศ ลักษณะเป็นตุ่มนูนสูงคล้ายหงอนไก่ พบบริเวณอวัยวะเพศ ทวารหนัก และขาหนีบ

5. หูดที่เป็นติ่งเนื้อแข็งยื่นจากผิวหนัง ลักษณะเป็นตุ่มขรุขระแต่ยาวคล้ายนิ้วมือเล็กๆ มักพบบริเวณใบหน้า และลำคอ

“หูดสามารถรักษาให้หายได้ แต่ในบางรายอาจต้องใช้เวลาในการรักษานานเป็นหลายเดือนหรือเป็นปี แม้รักษาหายก็ยังสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก เพราะฉะนั้นจึงควรมีการป้องกันไม่ให้มีการแพร่กระจายของหูด”

การป้องกันการเกิดหูด

1.หากเป็นหูด ควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปบริเวณอื่นของร่างกาย และป้องกันการแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้

2.รักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เพื่อให้ร่างกายมีภูมิต้านทานที่แข็งแรง

3.หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์กับบุคคลที่เป็นหูดหงอนไก่

4.ฉีดวัคซีนป้องกันการติดเชื้อ HPV ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อได้บางชนิด ปัจจุบันได้รับการรับรองให้ใช้ได้ทั้งในผู้หญิงและผู้ชาย


วิธีการรักษา
1. การทายา ยาที่ใช้จะเป็นยาที่มีส่วนผสมของกรดซาลิซิลิก กรดแลคติก กรดไตรคลออะซิติก แต่การรักษาหูดด้วยการทายาจะต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์ หรือบางรายหลายเดือนกว่าจะหาย ควรมาพบแพทย์เพื่อรับการรักษา ไม่ควรทายาด้วยตนเอง

2. การจี้ด้วยความเย็น โดยใช้ไนโตรเจนเหลว วิธีนี้ใช้ได้ผลดีกับหูดขนาดไม่ใหญ่มาก โดยระหว่างจี้ผู้ป่วยจะรู้สึกเจ็บหรือแสบ ต่อมาบริเวณที่จี้อาจจะพองเป็นตุ่มน้ำ และใหญ่ขึ้นเป็นถุงน้ำ หลังจากนั้นจะค่อยๆ แห้งลงและตกสะเก็ด และจะหายภายใน 1-3 สัปดาห์ ซึ่งอาจต้องจี้ซ้ำหลายครั้งจนกว่าจะหายขาด

3. การจี้ด้วยไฟฟ้า เป็นการทำลายตุ่มหูดด้วยความร้อน วิธีนี้ได้ผลค่อนข้างดี แต่อาจทำให้มีแผลเป็นได้

4. การรักษาด้วยเลเซอร์ วิธีนี้จะใช้เลเซอร์จี้ที่ตัวหูด ซึ่งได้ผลดีแต่มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

5. การผ่าตัด คือการผ่าตัดเอาก้อนหูดออก ใช้สำหรับหูดที่รักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผล

6. การทายาเพื่อกระตุ้นภูมิ (DCP) ใช้ในกรณีที่รักษาด้วยวิธีการอื่นไม่ได้ผลหรือหูดมีปริมาณมาก การรักษาใช้เวลาหลายเดือนและต้องมาทายาที่โรงพยาบาลทุกสัปดาห์

Warts are benign (not cancerous) skin growths that appear when a virus infects the top layer of the skin. Viruses that cause warts are called human papillomavirus (HPV). You are more likely to get one of these viruses if you cut or damage your skin in some way.

Wart viruses are contagious. Warts can spread by contact with the wart or something that touched the wart.

Warts are often skin-colored and feel rough, but they can be dark (brown or gray-black), flat, and smooth.

เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้