Last updated: 28 ต.ค. 2564 | 2537 จำนวนผู้เข้าชม |
ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล
โรคผมร่วง Frontal fibrosing alopecia (FFA) คืออะไร ดูแลรักษาได้อย่างไร ?
<> เป็นหนึ่งในกลุ่มโรคไลเคน พลาโนพิลาธิส (Lichen planopilaris) ซึ่งยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่พบว่าเกิดกระบวนการอักเสบภายในรูขุมขนที่มีเม็ดเลือดขาวมาทำลายเซลล์ต้นกำเนิดผม จึงทำให้ผมร่วงได้ บางการศึกษาพบว่าพันธุกรรมหรือฮอร์โมนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคนี้ด้วยเช่นกัน โดยมักจะพบในเพศหญิงวัยหลังหมดประจำเดือน
<> โรค FFA เป็นโรคที่เกิดการอักเสบที่หนังศีรษะ และทำลายรากผม จึงมีอาการผมร่วง หนังศีรษะแดง เป็นขุย และมักจะกลายเป็นโรคผมร่วงแบบมีแผลเป็น (scarring alopecia)
>> อาการของโรค
- เป็นภาวะผมร่วงชนิดมีแผลเป็น
- ส่วนใหญ่มีผมร่วงเป็นแถบบริเวณผมด้านหน้า ผมด้านข้างเหนือใบหู ในบางราย เป็นบริเวณผมด้านหลังร่วมด้วย ซึ่งอาจมีผมเหลืออยู่บางเส้นในบริเวณแถบผมร่วงนั้น
- พบหนังศีรษะเป็นขุยและแดงบริเวณรอบรูขุมขน
มีขนร่วงบริเวณอื่นร่วมด้วยเช่น คิ้ว ขนบริเวณร่างกาย
- ในบางรายอาจมีภาวะใบหน้าสีคล้ำขึ้นร่วมด้วย เรียกภาวะนี้ว่า Lichen Planus Pigmentosus และใบหน้าอาจมีลักษณะเป็นตุ่มนูนเล็ก ๆ ร่วมด้วยได้
มีลักษณะผื่นเป็นตุ่มนูนแดง และมีขุยบริเวณรอบโคนเส้นผม ส่วนใหญ่จะพบที่ตลอดแนวไรผมบริเวณ หน้าผากและจอนผม อาการของโรคอาจจะเป็น ลักษณะค่อยเป็นค่อยไป หรือเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันก็ ได้ ส่วนอาการร่วมอื่นที่พบบ่อย คือ อาการผมร่วงมาก ขึ้น และอาจมีอาการเจ็บ แสบร้อน คันที่หนังศีรษะ
ส่วนมากจะพบเป็นไรผมร่น เถิกขึ้นเรื่อยเรื่อยพบเป็นตุ่มแดงมีขุยรอบเส้นผมครับ
>>เป้าหมายการรักษา
โรค FFA เป็นโรคที่เรื้อรังและรักษาได้ค่อนข้างยากต้องใช้เวลาในการรักษาครับ
เป้าหมายคือ ควบคุมการอักเสบ ที่บริเวณรากผม เพื่อทำให้ผมหยุดร่วง โดยมากจะสามารถชะลอไม่ให้โรคลุกลามได้
อย่างไรก็ตามบริเวณรอยโรคท่ีมีการ อักเสบมาเป็นเวลานานก่อนได้รับการรักษามักกลาย เป็นบริเวณผมร่วงถาวร ซึ่งต้องอาศัยการ ผ่าตัดปลูกผม เพื่อนำผมมาปิดบริเวณที่ร่นขึ้นไป
>> แนวทางการรักษา
ส่วนมากต้องใช้การรักษาหลายวิธีร่วมกัน เช่น
- การฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์ steroid เข้าใต้ผิวหนัง เพื่อลดการอักเสบของรากผมให้เร็วที่สุดเพื่อจะไม่ให้กลายเป็นผมร่วงแบบมีแผลเป็น
- การรับประทานยากลุ่มฟีแนสเตอร์ไรด์/ ยาดูตาสเตอร์ไรด์
- กลุ่มไฮดรอกซีคลอโรควิน
- ยาเตตราไซคลิน (tetracycline), ยาดอกซีไซคลิน (doxycycline) และยาไพโอกลิทาโซน (pioglitazone)
-การทายากลุ่มแคลซินูลิน อินฮิบิทเตอร์ (calcineurin inhibitors) เพื่อลดการอักเสบของผิวหนังและรากผม
-การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผม มักทำในรายที่โลกไม่กำเริบสามารถควบคุมการอักเสบได้และเส้นผมกลายเป็นแผลเป็นไปแล้ว
เราก็จะใช้การผ่าตัดปลูกถ่ายเส้นผมจากบริเวณด้านหลังเช่นท้ายทอยมาปลูกบริเวณด้านหน้าที่ผมถอยร่นขึ้นไปครับ
- ซึ่งการรักษาโรคนี้ค่อนข้างยากครับ ช่วงแรกที่โรคมีการกำเริบอาจต้องใช้การฉีดยาเข้าในหนังศรีษะเพื่อรีบลดการอักเสบร่วมกับการทายา
-ในรายที่เป็นมากอาจจะต้อง ใช้การรับประทานยาร่วมด้วยซึ่งต้องพิจารณาโดยแพทย์เป็นรายๆไปครับ
ผศ. นพ. ศุภะรุจ เลื่องอรุณ (หมอรุจ)
Cr:หมอรุจชวนคุย
https://bit.ly/3BEsLJg
https://youtu.be/t4AWv2AsgS4
https://www.facebook.com/454651174702057/posts/1938968896270270/
....
คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)
...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Line: http://line.me/ti/p/@Demedclinic
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic
Youtube https://bit.ly/3p20YLE
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/
www.demedclinic.com / www.demedhaircenter.com