ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

Last updated: 19 ก.พ. 2567  |  5311 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง
✅วิธีรักษาฝ้า
ในปัจจุบันยังไม่มีวิธีรักษาฝ้าให้หายขาดได้ และฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำได้อีกหากถูกกระตุ้นด้วยแสงแดดและยาหรือฮอร์โมน

✅ซึ่งวิธีการรักษาฝ้าที่แพทย์ผิวหนังใช้ก็คือการควบคุมให้เซลล์สร้างเม็ดสีทำงานน้อยลงด้วยวิธีการต่าง ๆ และอาจต้องใช้หลาย ๆ วิธีร่วมกันเพื่อให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าด้วยว่าเป็นฝ้าตื้นหรือฝ้าลึก โดยวิธีลดเลือนและรักษาฝ้านั้นก็จะมีอยู่หลากหลายวิธีด้วยกัน แต่หลัก ๆ แล้วจะแบ่งเป็น

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

https://www.youtube.com/watch?v=zikqdSmiLZM

https://www.youtube.com/watch?v=zikqdSmiLZM

 

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคคล

 

https://www.youtube.com/watch?v=zikqdSmiLZM

https://www.youtube.com/watch?v=zikqdSmiLZM

https://www.youtube.com/watch?v=zikqdSmiLZM

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

ฝ้ารักษาได้อย่างไรบ้าง

 



การรักษาฝ้าด้วยยาทาหรือผลิตภัณฑ์ไวท์เทนนิ่ง เป็นวิธีการรักษามาตรฐานที่ได้ผลดีและปลอดภัย ใช้ได้ผลดีกับฝ้าตื้นมากกว่าฝ้าลึก แต่เห็นผลได้ช้ากว่าวิธีอื่น ๆ และยาบางตัวอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงได้ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีหรือใช้ผลิตภัณฑ์รักษาฝ้าที่แอบใส่ยาอันตรายความเข้มข้นสูงเพื่อให้ได้ผลเร็ว โดยการรักษาด้วยวิธีมาตรฐานนี้ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มเห็นผลว่าฝ้าดูจางลงใน 1-2 เดือน ถ้าใช้ต่อเนื่องเกิน 6 เดือนก็จะเห็นผลอย่างชัดเจน แต่สำหรับฝ้าลึกนั้นจะค่อนข้างรักษาได้ยากหากต้องใช้ยาทาเพียงอย่างเดียว จึงต้องใช้วิธีการรักษาอื่น ๆ ร่วมด้วย โดยยาทาที่นิยมใช้กันก็ได้แก่

ยาทากลุ่มไฮโดรควิโนน (Hydroquinone) เป็นยาตัวหลักที่แพทย์นิยมใช้ในวิธีรักษาฝ้าเพราะสามารถช่วยลดการสร้างเม็ดสีและทำลายเม็ดสีบางส่วนที่อยู่ใต้ผิวหนังได้ แต่ยานี้ก็มีผลข้างเคียงสูง เพราะมักทำให้เกิดการระคายเคือง แสบร้อน บวม แดง และลอกเป็นขุย ๆ ได้ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด เพราะหากใช้ยานี้ที่มีความเข้มข้นมากหรือใช้เป็นเวลานานก็อาจทำให้ผิวหนังเกิดการระคายเคือง สีผิวบริเวณนั้นเข้มขึ้น หรือเกิดฝ้าถาวรที่รักษาไม่หายได้
ยาทากลุ่มกรดวิตามินเอ (Retinoic Acid) เป็นยาทาที่ช่วยเร่งการหลุดลอกของเซลล์ผิวชั้นบน จึงช่วยให้รอยฝ้าดูจางลงได้ แต่ยารักษาฝ้านี้ต้องใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ขึ้นไปจึงจะเริ่มเห็นผล และระหว่างใช้ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด เพราะอาจทำให้ผิวหนังไวต่อแสง และทำให้เกิดการระคายเคืองมากขึ้น ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ ผิวหนังแดง คัน ผื่นผิวหนัง ผิวหนังอักเสบ แห้ง ลอก แสบร้อน ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง

 

ผลลัพธ์อาจแตกต่างกันไป แล้วแต่บุคค

ยาทาผสมไฮโดรควิโนน กรดวิตามินเอ และสารสเตียรอยด์ (Kligman's Formula) เป็นตัวยาอีกตัวที่แพทย์นิยมใช้ เนื่องจากใช้ง่าย และมีสเตียรอยด์อ่อน ๆ เพื่อช่วยลดการระคายเคืองของไฮโดรควิโนนและกรดวิตามินเอ แต่หากใช้วิธีรักษาฝ้านี้อย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานก็อาจทำให้เกิดฝ้าจากสเตียรอยด์หรือเกิดฝ้าถาวรจากไฮโดรควิโนนได้ ส่วนผลข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ คือ เกิดอาการแดง คัน ระคายเคือง ผิวแห้ง ลอก ผิวมีสีเข้มขึ้นหรือซีดลง สิว ฯลฯ ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิดเช่นกัน
ยาทากลุ่มอะเซเลอิก (Azelaic Acid) เป็นยาที่มีประสิทธิภาพในลดการสร้างเม็ดสีได้ดีเทียบเท่ากับยาทาไฮโดรควิโนน แต่การใช้ยานี้ช่วงแรกอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังหรือแสบร้อนบริเวณผิวหนังได้ จึงต้องใช้ด้วยความระมัดระวังหรืออยู่ในการดูแลของแพทย์
การลดเลือนและรักษาฝ้าแดดด้วยผลิตภัณฑ์กลุ่มสารไวท์เทนนิ่งทั่วไป (Whitening Agents) เช่น วิตามินซี, สารสกัดจากชะเอมเทศ, อาร์บูติน, กรดโคจิก, สารสกัดจากถั่วเหลือง ฯลฯ เป็นการรักษาฝ้าอย่างถูกวิธีและปลอดภัยที่สุด เนื่องจากเป็นสารที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่ำ แม้จะได้ผลช้ากว่ายาทาแต่ก็ได้ผลค่อนข้างดีในระยะยาวที่ช่วยทำให้ฝ้ารวมถึงฝ้าแดดจางลงและผิวดูขาวขึ้น เป็นอีกหนึ่งวิธีในการลดเลือนและรักษาฝ้าให้หายขาดที่ได้ผลค่อนข้างชัดเจน

การลอกผิวด้วยสารเคมี Chemical Peeling หรือกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี Dermabrasion เพื่อกำจัดเม็ดสีที่มีอยู่ออกไป เป็นการรักษาที่ต้องทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น เพราะอาจก่อให้เกิดแผลเป็นถาวรได้จากการลอกชั้นผิวที่ลึกเกินไป หลังทำต้องหลีกเลี่ยงการสัมผัสแสงแดดอย่างเคร่งครัดและทาครีมกันแดดอย่างสม่ำเสมอ ไม่อย่างนั้นฝ้าจะกลับมาเป็นซ้ำและเข้มขึ้นมากกว่าเดิมจากผิวที่บางลงจากการลอกหรือกรอผิว
การลอกผิวด้วยสารเคมี (Chemical Peeling) เป็นการใช้สารเคมีที่มีความเข้มข้นสูงกว่าครีมรักษาฝ้าที่ผสมกรดผลไม้หลายเท่า ในการใช้จึงต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดผิวไหม้หรือแผลเป็นถาวร
การกรอผิวด้วยเกร็ดอัญมณี (Microdermabrasion) เพื่อขัดและลอกผิวหนังชั้นหนังกำพร้าด้านบนออก ใช้ได้ผลกับฝ้าตื้น แต่เป็นวิธีรักษาฝ้าที่ก่อให้เกิดการระเคืองสูง และหลังทำต้องระมัดระวังการสัมผัสกับแสงแดดมากเป็นพิเศษ จึงเป็นวิธีที่ไม่ค่อยได้รับความนิยมมากนักในการรักษา โดยเฉพาะในบ้านเราที่มีอากาศร้อนและมีโอกาสสัมผัสแสงแดดได้สูง

การรักษาฝ้าด้วยเลเซอร์/แสง (Laser/Light Therapy) เช่น IPL, QsNDYAG, Fractional Laser, Picosecond Laser เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน เพราะมีความแม่นยำและรักษาได้ตรงจุด ***แต่การรักษาฝ้านี้ก็เป็นเพียงการรักษาเสริมเท่านั้น ไม่ใช่การรักษาหลัก (ใช้ทำลายเม็ดสีที่ปลายเหตุ ไม่ได้ช่วยยับยั้งการสร้างเม็ดสีที่เป็นต้นเหตุ) การทำเลเซอร์จะอาศัยหลักการปล่อยพลังงานความร้อนไปยังฝ้าเพื่อทำลายเม็ดสีโดยตรง นั่นจึงเป็นผลทำให้ผิวบริเวณที่ทำเลเซอร์นั้นไวต่อแสง (หลังทำในช่วง 2-4 สัปดาห์ห้ามโดนแดดอย่างเด็ดขาด), ผิวแพ้ง่าย (ต้องงดใช้เครื่องสำอางที่มีส่วนประกอบของกรดหรือใช้สครับเพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบได้ง่าย), ผิวแห้ง ตกสะเก็ด และเป็นขุย, เป็นสาเหตุการเกิดฝ้าใหม่และมีโอกาสกลับมาเป็นซ้ำได้ง่ายกว่าเดิม (เพราะผิวมีสภาพอ่อนแอจากการทำเลเซอร์), ฝ้าอาจเข้มขึ้น หรือเกิดจุดด่างขาว (อาจเกิดจากเครื่องมือที่ไม่มีคุณภาพหรือความไม่ชำนาญของแพทย์), อาจเกิดแผลเป็นจากเลเซอร์ เป็นต้นนอกจากนี้ ต้องทำเป็นประจำ อาศัยเครื่องมือการรักษาที่ทันสมัย และความชำนาญของแพทย์ (เพราะต้องปรับพลังงานที่ใช้ให้พอดีกับลักษณะของฝ้าที่เป็นไม่ให้มากหรือน้อยจนเกินไป)

หมอรุจชวนคุย 

คลิก!! จองสิทธิ์!! เพื่อรับข้อเสนอพิเศษ
(จำนวนจำกัด)

http://line.me/ti/p/@Demedclinic


...
ปรึกษาคุณหมอหรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Tel : 063-959-4392 / 063-896-2514
Linehttp://line.me/ti/p/@Demedclinic    
Line: @Demedclinic
Wechat/Whatsapp: Demedclinic
IG: https://www.instagram.com/demedclinic        
Youtube https://bit.ly/3p20YLE       
Blockdit https://bit.ly/3d8vYr1        
https://vt.tiktok.com/ZSJ141Mdf/        
www.demedclinic.com   / www.demedhaircenter.com       

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้