Last updated: 30 ม.ค. 2561 | 36725 จำนวนผู้เข้าชม |
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic Dermatitis)
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์ เทอดพงศ์ เต็มภาคย์
Assistant Professor Dr. Therdphong Tempark
ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังเด็ก โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ตารางตรวจ: ทุกวันจันทร์ และ พุธ ที่ เดอเมช คลินิก
ปรึกษา คิวตรวจ : 0836699449 Line: demedclinic1
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่พบบ่อยที่สุดในเด็ก
ลักษณะที่สำคัญของโรคคือ
ผู้ป่วยจะผิวหนังแห้ง แดงอักเสบที่มีลักษณะจำเพาะเจาะจง และมีอาการคันมาก นอกจากนี้ผิวหนังจะไวต่อสิ่ง กระตุ้นภายนอกที่ทา ให้มีผื่นขึ้นเป็นๆหายๆ
อาการ ลักษณะของโรคที่พบแตกต่างกันตาม อายุของผู้ป่วย ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยมีอาการก่อนอายุ 5 ปี อาจแบ่งอาการของโรคนี้ออกเป็น 3 ช่วงอายุ คือ
วัยทารก พบตั้งแต่อายุ 2-3 เดือนขึ้นไป ผื่นจะขึ้นบริเวณแก้ม ใบหน้า ศีรษะ ลำตัว ด้านนอของแขนขาข้อมือและข้อเท้า โดยลักษณะผื่นจะเป็นตุ่มแดง คัน หรือตุ่มน้า ใสมีน้า เหลืองซึม ต่อมาอาจแห้งเป็นสะเก็ด
วัยเด็กโต ผื่นจะขึ้นเป็นตุ่ม หรือปื้นแดงหนาที่คอ ข้อพับต่างๆ เช่น ข้อพับของแขนและขาทั้ง 2 ข้าง มีอาการคันมากและเกาจนเป็นผื่น หนา แข็ง มีขุย โดยเฉพาะถ้าเป็นผื่นเรื้อรัง
วัยผู้ใหญ่ ผื่นจะเหมือนในเด็กโต แต่อาจมีผื่นที่ข้อมือและข้อเท้าร่วมด้วย พบได้บ่อยที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ในรายที่มีอาการเป็นมาก ผื่นสามารถขึ้นได้ทั่วร่างกาย
สาเหตุ
ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของโรคนี้ เชื่อว่าเกิดจากหลายปัจจัยร่วมกัน มีส่วนเกี่ยวข้อง กับพันธุกรรม ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้มักมีบิดามารดาหรือญาติใกล้ชิดเป็นโรคในกลุ่มภูมิแพ้ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังร่วมด้วย ผิวหนังผู้ป่วยจะไวต่อสภาพแวดล้อม เช่น เหงื่อ ความร้อน ความเย็น สารเคมีที่ระคายเคืองต่างๆ เชื้อโรค และเกิดจากการตอบสนองที่ผิดปกติของระบบภูมิต้านทานของร่างกาย
ปัจจัยที่ทาให้อาการผื่นภูมิแพ้ผิวหนังกาเริบ
เกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่
1. อากาศร้อนหรือหนาวเกินไป ผิวหนังจะแห้งในฤดูหนาวที่อากาศเย็นและ อาบน้ำอุ่น ในฤดูร้อนมีเหงื่อออกมากอาจกระตุ้นให้ผื่นเห่อคัน
2. การดูแลผิวไม่เหมาะสม เช่น อาบน้ำร้อน อาบน้ำบ่อย อาบน้ำนานเกินไป การระคายเคืองผิวจากวัสดุที่ใช้ถูตัว เช่น ผ้าหรือฟองน้ำขัดผิว รวมถึงการใช้สบู่หรือสารทำความสะอาดที่รุนแรงเกินไป จะทำให้ผิวแห้งมากขึ้น
3. การติดเชื้อแบคทีเรียและเชื้อราแทรกซ้อนบนผื่นผิวหนังที่อักเสบอยู่เดิมจะทำให้ผื่นกำเริบมากขึ้น
4. สารเคมีหรือสารระคายเคืองผิว เช่น น้ำลาย ผงซักฟอก น้ำยาปรับผ้านุ่ม น้ำหอม สารกันบูด
5. ในผู้ป่วยบางรายเมื่อรับประทาน อาหารบางชนิด เช่น นมวัว ผลิตภัณฑ์จากนมวัว ไข่ แป้งสาลี อาหารทะเล ถั่วเป็นต้น สามารถกระตุ้นให้ผื่นกำเริบได้
6. สารก่อการระคายเคืองที่อยู่ในอากาศ เช่น ไรฝุ่น ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ ซึ่งมักพบว่าผู้ป่วยจะมีอาการของระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย
7. การเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ เช่น ความเครียด ความวิตกกังวล
การวินิจฉัยโรค
การวินิจฉัยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังอาศัยประวัติที่ผู้ป่วยมีอาการคัน เป็นผื่นผิวหนังอักเสบเป็นๆ หายๆ ติดต่อกันเป็นเวลานาน ตามบริเวณที่แตกต่างกันตามวัยของผู้ป่วย
การตรวจเหรือการทดสอบเพิ่มเติม
การทดสอบ สารก่อการแพ้ของผู้ป่วย เช่น การสะกิดผิวหนัง แปะสารเคมีทดสอบบนผิวหนัง หรือวิธีการเจาะเลือดตรวจเพื่อหาว่าผู้ป่ วยแพ้อะไรนั้นไม่มีความจำเป็นต้องทำในผู้ป่ วยทุกราย แนะนำให้ทำในผู้ป่วย ที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น วิธีที่ดี และเหมาะสม คือควรสังเกตว่าเมื่อรับประทาน สัมผัสกับสาร ก่อการแพ้ หรือ สิ่งแวดล้อมชนิดใดแล้วทำให้ผื่นอักเสบกำเริบขึ้นก็ควรหลีกเลี่ยงสารหรือสภาวะแวดล้อมเหล่านั้น
เราได้ทราบถึงสาเหตุและปัจจัยกระตุ้นของโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังแล้วนะครับ
ครั้งหน้าห้ามพลาดกับการดูแลรักษา และการเลือกผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่เหมาะกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. เทอดพงศ์ เต็มภาคย์...
อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังในเด็ก
ตารางตรวจ: ทุกวันจันทร์ และ พุธ ที่ เดอเมช คลินิก
เพื่อความสะดวกของคุณแม่ สามารถปรึกษานัดคิวตรวจได้ที่เบอร์สายตรง : 0836699449 Line: demedclinic1
ข้อมูลเพิ่มเติม คลิก> http://goo.gl/Hl1367
ไขปัญหาโรคภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก Atopic dermatitis (AD)
โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. เทอดพงศ์ เต็มภาคย์
อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังในเด็ก
เพราะแดดที่ร้ายแรงทำร้ายผิวได้มากกว่า ยิ่งเฉพาะสำหรับผิวเด็ก
ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทั้งความรู้เกี่ยวกับผลร้ายจากแดดพร้อมวิธีป้องกันผิวจากแดดสำหรับเด็กอย่างถูกวิธี
จากผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. เทอดพงศ์ เต็มภาคย์ อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคผิวหนังในเด็ก